วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการ(EVOLUTION) หมายถึง เปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้นโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนานแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้1. ลามาร์ค (JEAN BAPTISITE DE LAMARCK)- กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (LAW OF USE AND DISUSE) กล่าวว่าอวัยวะใดถูกใช้งานอยู่เสมอจะมีการพัฒนาขึ้นอวัยวะใดไม่ถูกใช้งานก็จะเสื่อมหายไป และลักษณะเหล่านี้จะถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้- ตัวอย่างเดิมนั้นยีราฟคอสั้นเหมือนสัตว์อื่นแต่ชอบยืดคอกินใบไม้อยู่เป็นประจำทำให้คอและขายาวขึ้น และ ตกทอดมาถึงลูกถึงหลาน ปัจจุบันยีราฟจึงคอยาว ลามาร์ค ทฤษฎีที่ใช้ยีราฟเป็นตัวอย่าง2. ดาร์วิน (CHARLES DARWIN)- ทฤษฎีการคัดเลือก โดยธรรมชาติ (THEORY OF NATURAL SELECTION) กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตจะมีการเพิ่มจำนวนแบบทวีคูณ และ มีลักษณะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมจะอยู่รอดและสืบพันธุ์ให้ลูกหลานได้สิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมาะสมก็จะตายไป- ตัวอย่างเดิมนั้นยีราฟทีทั้งคอสั้นและคอยาว เมื่อมีจำนวนมากๆ เข้าจะขาดแคลนอาหารทำให้ต้องกินใบไม้ที่อยู่บนต้น พวกคอยาวก็สามารถหาอาหารได้ มีชีวิตรอดและมีลูกหลานต่อมา ส่วนพวกคอสั้นเมื่อขาดแคลนอาหารไม่สามารถกินใบไม้ได้ทำให้ล้มตายลงปัจจุบันจึงมีแต่ยีราฟคอยาวดาร์วินข้อควรระวัง- ทฤษฎีของลามาร์ค จะพิจารณาถึงมีชีวิตแต่ละตัวที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง- ส่วนทฤษฎีของดาร์วินจะพิจารณาถึงสิ่งชีวิตเป็นกลุ่มของประชากรซึ่งมีลักษณะหลายๆ





ทฤษฎีของลามาร์ค(Jean Lamarck
นักวิวัฒนาการชาวฝรั่งเศสได้เสนอความคิดในเรื่อง วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตไว้เป็น 2 ข้อ คือ
1. กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้ (law of use and disuse) มีใจความสําคัญว่า “ลักษณะของสิ่งมีชีวิตผันแปรได้ตามสภาพแวดล้อมอวัยวะใดที่ใช้อยู่บ่อยๆย่อมขยายใหญ่ขึ้น ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ได้ใช้จะค่อยๆลดขนาด อ่อนแอลงและหายไปในที่สุด”
2. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance of acquired characteristics) มีใจความว่า “ลักษณะที่ได้มาใหม่หรือเสียไปโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ต่อไปได้” ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ลามาร์คยกมาอ้างอิงได้แก่
๐ พวกนกน้ำ โดยกล่าวว่านกที่หากินบนบกจะไม่มีแผ่นพังผืดหนังต่อระหว่างนิ้วเท้า ส่วนนกที่หากินในนํ้ามีความต้องการใช้เท้าโบกพัดนํ้าสําหรับการเคลื่อนที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า จึงขยายออกต่อกันเป็นแผ่นและลักษณะนี้ถ่ายทอดไปสู่ รุ่นลูกหลานได้ อย่าง











รูปที่ 2.7 เปรียบลักษณะเท้าของนกที่หากินบนบกและในน้ำ


๐ ยีราฟ ซึ่งในปัจจุบันมีคอยาว ลามาร์คได้อธิบายว่า ยีราฟในอดีตคอสั้นกว่าปัจจุบัน (จากหลักฐาน ของซากดึกดำบรรพ์)แต่ได้มีการฝึกฝนยืดคอเพื่อพยายามกินใบไม้ จากที่สูงๆ ทําให้คอยาวขึ้น การที่ต้อง เขย่งเท้ายืดคอทําให้ยีราฟมีขายาวขึ้นด้วยลักษณะ ที่มีคอยาวขึ้นและขายาวขึ้นนี้ถ่ายทอด มาสู่ยีราฟรุ่นต่อมา
รูปที่ 2.8 วิวัฒนาการของยีราฟคอยาวตามทฤษฎีของลาร์มาร์ค





๐ สัตว์พวกงู ซึ่งไม่มีขาปรากฏให้เห็น แต่จากโครงกระดูกยังมีซากขาเหลือติดอยู่ ซึ่งลามาร์ค อธิบายว่างูอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพงหญ้ารกทึบการเลื้อยไปทําให้ลําตัวยาว ส่วนขาไม่ได้ใช้จึงค่อยๆ ลดขนาดเล็กลงและหายไป ลักษณะนี้ถ่ายทอดไปได้งูรุ่นต่อๆ มาจึงไม่มีขา